มารู้จักกับสายตาเอียงกันเถอะ

มารู้จักกับสายตาเอียงกันเถอะ

ที่มาของสายตาเอียง

สายตาเอียง (ASTIGMATISM) : สายตาเอียงเกิดจากความผิดปกติของกระจกตาหรือเลนส์ตาที่ช่วยในการหักเหแสง มีลักษณะไม่โค้งกลม หรือมีความโค้งไม่เท่ากัน หรือมีรูปร่างผิดไปจากเดิม จึงทำให้เกิดจุดหักเหของแสงมีมากกว่าหนึ่งจุด ทำให้การมองเห็นสิ่งต่างๆ เป็นภาพเบลอ มองอักษร ตัวเลขไม่ชัด เห็นเงาซ้อน หรือผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ซึ่งทราบไปแล้วว่าสายตาเอียงเกิดจากอะไร แต่ทราบหรือไม่ว่า สายตาเอียงนั้นสามารถเกิดร่วมกับภาวะปัญหาสายตาชนิดอื่นด้วยเสมอ เช่น สายตาสั้น และสายตายาว ดังนั้น สายตาเอียงเพียงอย่างเดียวจะพบได้น้อย

กลไกทางสายตาที่ผิดปกติเหล่านี้ ส่งผลให้เรามีอาการปวดหัว ปวดตา หรือมีอาการตาล้าหลังจากการเพ่งอ่านหนังสือ หรือจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถเป็นได้ตั้งแต่กำเนิด หรือ เกิดขึ้นได้ในภายหลังจากการผ่าตัด หรือประสบอุบัติเหตุ

 แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าเรานั้นเป็นคนสายตาเอียง มาดู 4 สัญญาณอาการสายตาเอียง ไปพร้อมๆ กันเลย !

4 สัญญาณอาการสายตาเอียง

  • เห็นเป็นภาพเบลอ หรือผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง ทำให้ต้องคอยหรี่ตาบ่อยๆ
  • มองอักษร ตัวเลขไม่ชัด เห็นเงาซ้อน
  • เห็นแสงสีขาวกระจายฟุ้ง
  • ปวดหัวเมื่อต้องเพ่งมองสิ่งในสิ่งหนึ่งในระยะเวลานาน

สาเหตุของอาการสายตาเอียง

Curvature Astigmatism

มีหลายๆคนมักมีความเชื่อผิดๆว่า สายตาเอียงเกิดจากการที่เรามักขีดเส้นบรรทัดเอียง หรือตัดกระดาษเอียง แต่แท้ที่จริงแล้วสายตาเอียงเกิดจากความโค้งของกระจกตาที่ผิดปกติ หรือมีรูปร่างผิดไปจากปกติ ไม่ว่าจะเป็น โค้งเป็นวงรี หรือรูปไข่ เกิดได้ทั้งในแนวตั้ง และแนวนอน ซึ่งอาจเป็นมาแต่กำเนิด หรือเกิดเองในขึ้นภายหลัง

  • สายตาเอียงแต่กำเนิด เป็นผลมาจากแรงกดของเปลือกตาด้านบนต่อลูกตา ทำให้ความโค้งในแนวตั้งมากกว่าแนวนอนเล็กน้อย ดังนั้น สายตาเอียงชนิดนี้ ถือว่าเป็นภาวะปกติ แต่หากเกิดจากพัฒนาการที่ผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่
  • สายตาเอียงที่เกิดขึ้นภายหลัง สามารถพบได้จากการเป็นโรคต่างๆ หรือเกิดการกระทบกระเทือนถึงกระจกตา เช่น แรงกดจากตากุ้งยิงหรือก้อนเนื้ออื่นๆ ที่เปลือกตากดทับจนรูปร่างของเลนส์แก้วตาให้ผิดปกติ รวมถึงการเกิดอุบัติเหตุที่กระจกตา หรือหลังการผ่าตัด

    Index Astigmatism

    คือ ความแตกต่างของค่าดัชนีหักเหของแสง (REFRACTIVE INDEX) ในเลนส์แก้วตา ซึ่งอาจทำให้เห็นภาพบิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริงได้ ยกตัวอย่างเช่น พฤติกรรมที่มักนอนตะแคงดูโทรทัศน์ ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาที่ทำหน้าที่ช่วยในการมองนั้น  ทำงานไม่เท่ากันในแต่ละแนว ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะสายตาเอียงได้ในขณะนั้น และอาจส่งผลต่อเนื่องได้ในผู้ป่วยบางราย

      สำหรับผู้ที่กำลังมีปัญหาสายตาเอียง ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องใส่แว่นสายตาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ปัจจุบันยังมีตัวเลือกอื่นๆ ที่ทำให้ผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียงใช้ชีวิตได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น อย่างเช่น ใช้คอนแทคเลนส์สำหรับสายตาเอียง หรือการทำเลสิก เป็นต้น ถึงแม้ว่าการใส่คอนแทคเลนส์ หรือใส่แว่นสายตาไม่ใช่เครื่องมือที่ช่วยรักษาให้สายตากลับมาเป็นปกติได้ แต่นี่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ปลอดภัย สามารถช่วยทำให้การมองเห็นของเราชัดเจนขึ้น แถมยังมีผลข้างเคียงน้อยที่สุดนั่นเองค่ะ

      กลับไปยังบล็อก