ปัญหาสายตาสั้น (Myopia)
เป็นปัญหาทางสายตาที่พบได้มากที่สุดในทุกเพศ ทุกวัย และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก จนถึงเด็กวัยเรียน ดังนั้นตามมารู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสายตาสั้นให้ทุกคนได้มีความรู้และสามารถดูแลสายตาของคุณ และคนที่คุณรักได้อย่างถูกต้อง
สายตาสั้นคืออะไร
สายตาสั้น คือภาวะความผิดปกติของสายตาประเภทหนึ่ง ที่เลนส์ตาไม่สามารถรับแสงหักเหจากวัตถุที่ส่งภาพมาตกกระทบก่อนถึงจอเรตินา ทำให้จอไม่สามารถส่งภาพให้สมองประมวลผลได้อย่างชัดเจน (Refractive Errors) โดยคนที่มีปัญหาสายตาสั้นจะมองเห็นสิ่งที่อยู่ในระยะไกลไม่ชัด หรือมองเห็นเป็นภาพราง บางรายปวดหัว ปวดเบ้าตา แต่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ใกล้อย่างชัดเจน ทำให้เกิดการหรี่ตา หรือการบีบกล้ามเนื้อตาเพื่อเพ่งเล็งให้สายตาโฟกัสให้ได้ว่า ภาพไกลๆ นั้นคือภาพอะไร
สายตาสั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ระบบการมองเห็นของคนเรานั้น เกิดจากการที่แสงตกกระทบวัตถุ แล้วเกิดภาพสะท้อนเข้าสู่ตาเราผ่านทางเลนส์ตา (Lens) เข้ามายังลูกตา และตกกระทบกับจอรับภาพ หรือการทำให้เกิดภาพบนจอเรตินา(Retina) แล้วส่งข้อมูลของวัตถุที่มองเห็นผ่านเส้นประสาท (Optic nerve) จะส่งไปสู่สมอง ให้สมองทำการวิเคราะห์แสงและภาพ เพื่อแปลข้อมูลว่า ภาพที่เราเห็นอยู่นั้นคือภาพอะไร
โดยสายสั้นชนิดที่พบได้ทั่วไป มีสาเหตุมาจากการที่กระจกตามีความโค้งมากกว่าปกติ หรือ เกิดจากเส้นผ่าศูนย์กลางของนัยน์ตายาวกว่าปกติ จึงมีกำลังในการหักเหแสงมากขึ้น ทำให้จุดรวมแสงของภาพของวัตถุที่อยู่ไกล ตกก่อนถึงจอประสาทตาจึงทำให้มองไกลได้ไม่ชัด หรืออาจเกิดขึ้นได้พฤติกรรมเสี่ยง เช่น ใช้สายตาเพ่งมองมากเกินไป โดยเฉพาะผู้ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือผู้ที่อ่านหนังสือเป็นเวลานาน
สัญญาณเตือนว่าเป็นภาวะสายตาสั้น
1. มองเห็นสิ่งที่อยู่ในระยะไกลมัวลง หรือมองเห็นไม่ชัดเจน
2. ต้องจ้องหรือเพ่งมองใกล้ๆ หรี่ตา รวมทั้งปิดตาข้างหนึ่งเพื่อมองให้ชัดขึ้น
3. เกิดอาการตาล้า เมื่อต้องเพ่งมองสิ่งที่อยู่ไกลออกไป อาจส่งผลให้เกิดความรู้สึกปวดศีรษะ
4. มองเห็นได้ไม่ชัดขณะขับขี่ โดยเฉพาะเมื่อขับขี่ตอนกลางคืน หรือเรียกว่าสายตาสั้นตอนกลางคืน (Night Myopia)
เมื่อเป็นแล้วสามารถดูแลดวงตาได้อย่างไรบ้าง?
หากรู้สึกว่าตัวคุณเองกำลังมีอาการ ดังที่กล่าวไปข้างต้น แนะนำให้มาตรวจวัดสายตาด้วยระบบ BVAX ถึง 16 ขั้นตอน
เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของปัญหาเบื้องต้น โดยผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้น สามารถเลือกใส่แว่นตาเพียงอย่างเดียว หรือสวมใส่แว่นสายตาสลับกับการใส่คอนแทคเลนส์ หรือหากต้องการทำเลสิค ก็ได้เช่นกัน วิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้เรากลับมามองเห็นได้เป็นปกติอีกครั้ง แต่ไม่สามารถทำได้ในทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหากระจกตาบาง หรือผู้ที่มีปัญหากระจกตาย้วย (Keratoconus) นั่นเองค่ะสำหรับบางท่านที่มีปัญหาสายตาสั้นกลางคืน ก็สามารถแก้ไขได้โดยสวมแว่นสายตาเฉพาะตอนกลางคืนหรือสภาวะที่มีแสงน้อย โดยเลือกใช้เลนส์ที่มีการเคลือบผิวด้วยมัลติโค้ท เพื่อตัดแสงสะท้อนที่รบกวนการมองเห็น และทำให้ปริมาณแสงเข้าสู่ดวงตาได้มากขึ้น ส่งผลให้ความสามารถในการมองเห็นตอนกลางคืนดีขึ้น นอกจากนี้เลนส์ย้อมสีเหลืองจะช่วยลดผลของภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืนได้ดี แต่จะมีการเพี้ยนสีของวัตถุได้ จึงควรเลือกใช้ด้วยความระมัดระวัง และอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ