"ดวงตา" หนึ่งในอวัยวะขาดเล็กของร่างกายเรา แต่กลับมีกล้ามเนื้อถึง 6 มัด และทำงานอย่างหนักแบบไม่หยุดหย่อน เพราะในปัจจุบันเราต่างใช้ชีวิตและกิจกรรมที่เน้นการใช้งานสายตาในระยะกลางจนถึงระยะใกล้มากขึ้นเรื่อยๆจนปัญหาตาล้าแวะมาทักทายเราแบบไม่รู้ตัว
“ดวงตา” หนึ่งในอวัยวะขนาดเล็กของร่างกายเรา แต่กลับมีกล้ามเนื้อถึง 6 มัด และทำงานอย่างหนัก เพราะในปัจจุบันเราต่างใช้ชีวิตและกิจกรรมที่เน้นการใช้งานสายตาในระยะกลาง จนถึงระยะใกล้มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในออฟฟิศหรือการใช้งานสมาร์ทโฟน ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาการมองเห็นในระยะกลาง-ใกล้
พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนักมากยิ่งขึ้น จนทำให้เกิดปัญหาตามมา ไม่ว่าจะเป็นอาการตาล้า ปวดตา ปวดศีรษะ รวมถึงมีอาการออฟฟิศซินโดรมร่วมด้วย แต่ก่อนที่เราจะไปรู้จักกับปัญหาตาล้า เรามาดูก่อนดีกว่าว่ากล้ามเนื้อตาของเรา แต่ละส่วนทำหน้าที่อย่างไรบ้าง
โดยปกติแล้ว กล้ามเนื้อดวงตาของคนเรา จะผ่อนคลายอย่างเป็นธรรมชาติ ในเวลาที่เรามองวิวทิวทัศน์หรือมองไปไกลๆ (5 เมตรขึ้นไป) แล้วเมื่อยิ่งมองใกล้เข้ามาเท่าไร กล้ามเนื้อตาก็ต้องหดตัวเพื่อโฟกัสมากขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่ง ! ปัจจุบันนี้ เราทำงานกับจอคอมพ์ หรือ ใช้งานมือถือเป็นเวลานานๆ ซึ่งเป็นการใช้สายตาในระยะใกล้ๆ 30-90 ซม.จึงทำให้กล้ามเนื้อตาต้อง "เกร็ง" อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนกระทั่งทำให้ “ตาล้า"
เมื่อกล้ามเนื้อตาอ่อนล้าอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้พักกล้ามเนื้ออย่างเพียงพอ ก็เทียบได้กับการที่เราต้องวิ่งนานๆ แล้วรู้สึกเมื่อยกล้ามเนื้อต่างๆ แต่ไม่ได้นวดหรือยืดคลายกล้ามเนื้อนั่นหละ พอปล่อยไปนานๆเข้า ก็ทำให้เส้นยึดกล้ามเนื้อเกร็ง แล้วก็ไม่สามารถใช้งานมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ฉะนั้น กล้ามเนื้อตาที่อ่อนล้า หมดแรงแล้ว ก็จะโฟกัสไม่ไหว หรือไม่ก็ต้องฝืนกำลังตัวเอง จนต้องดึงกำลังของกล้ามเนื้ออื่นรอบๆมาช่วย จนทำให้เราเครียด ปวดหัว ปวดขมับ บางทีลามไปจน ปวดคอ แบบ office syndrome ได้ด้วย
หรือพอมีเวลาว่าง ก็พยายามคลายกล้ามเนื้อตาบ่อยๆ โดยการมองไปไกลๆ มองวิว ประหนึ่งว่ากำลังเล่น MV ด้วยความเหม่อลอย พร้อมทั้งบริการกล้ามเนื้อตาควบคู่ด้วย เพื่อคลายความเครียด ให้กล้ามเนื้อตา แต่ถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีกขอแนะนำให้ใช้ "เลนส์ Zeen" ที่ช่วยลดภาระให้กับกล้ามเนื้อตา อย่างต่อเนื่องก็ได้ ถือว่าช่วยได้เยอะเลยล่ะ