5 หลักการเลือกใช้เลนส์สายตาที่ใช่ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ

5 หลักการเลือกใช้เลนส์สายตาที่ใช่ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ

สำหรับผู้ที่เริ่มมีปัญหาสายตา หรือมีปัญหาสายตาอยู่แล้ว และกำลังจะต้องเปลี่ยนเลนส์สายตาใหม่เร็วๆนี้ แต่ไม่รู้ควรเลือกใช้เลนส์สายตาแบบไหนดี  วันนี้หอแว่นขอแนะนำวิธีการเลือกเลนส์สายตาให้เหมาะสมกับปัญหาสายตา และการใช้งาน ซึ่งเลนส์สายตาที่ดีนั้น จะต้องมีคุณภาพดี ช่วยแก้ไขปัญหาสายตา และสวมใส่สบายตาอีกด้วยค่ะ

ซึ่งเลนส์สายตาที่สามารถแก้ไขปัญหาสายตาได้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. Single Vision
    เลนส์ชั้นเดียวคือ เลนส์ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาสายตาแบบปกติ มักนิยมใช้ในการแก้ปัญหาสายตาสั้น ยาว หรือเอียง

  2. Bifocal Lens
    เลนส์สองชั้น และเลนส์โปรเกรสซีฟ(progressive lenses) เป็นเลนส์ที่ทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการมองเห็นของผู้มีภาวะสายตายาวตามวัย เหมาะสำหรับบุคคลที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โดย Bifocal Lens หรือเลนส์สองชั้น จะช่วยให้ผู้สวมใส่สามารถมองเห็นได้ในระยะใกล้และไกลเท่านั้น ไม่สามารถปรับระยะการมองได้อย่างนุ่มนวล ซึ่งในขณะที่ progressive lenses เลนส์โปรเกรสซีฟ จะช่วยแก้ไขการมองเห็นได้ทุกระยะ ทั้งใกล้ กลาง และ ไกลนั่นเอง

    นอกจากนี้ยังมีเลนส์สายตาชนิดพิเศษที่ทำขึ้นเพื่อปกป้องดวงตาจาก แสงแดด อุบัติเหตุ หรือแสงสีฟ้า ซึ่งมีด้วยกันดังนี้

    1. เลนส์เปลี่ยนสีอัตโนมัติ หรือโฟโตโครมิกเลนส์ (Photochromic Lens)
      เป็นเลนส์ที่ผสมสารชนิดพิเศษเข้าไป ที่เนื้อเลนส์ โดยตัวเลนส์สามารถปรับสีเข้มขึ้นหรืออ่อนลงได้อย่างรวดเร็ว ตามความเข้มของ UV และอุณหภูมิ

    2. เลนส์ตัดแสงสีฟ้า หรือเลนส์ป้องกันแสงสีฟ้า
      เป็นเลนส์ที่ช่วยปกป้องดวงตาจากแสงสีฟ้า (Blue- violet) ที่เกิดจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งเป็นคลื่นแสงพลังงานสูง รวมไปถึงรังสี UVA UVB โดยเฉพาะช่วงความยาวคลื่น 400–500 นาโนเมตร ช่วยลดอาการ Digital eye strain ได้แก่ อาการตาแห้ง ตาพร่ามัว รู้สึกเครียด เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นประจำ

    3. เลนส์ TRIVEX หรือเลนส์เหนียวกันกระแทก
      เป็นเลนส์ที่ทนแรงกระแทกสูงได้ดีกว่าเลนส์พลาสติกทั่วไป ด้วยคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการ ได้แก่ ความคมชัด ความทนทาน และน้ำหนักเบา Trivex จึงเป็นเลนส์ที่ได้รับการแนะนำให้ใช้ในเด็กและผู้ที่ต้องการความแข็งแรงของเลนส์

    การเลือกเลนส์ให้เหมาะสม จะช่วยให้คุณสามารถใช้ชีวิตทำในสิ่งที่ชอบนั้นได้อย่างเต็มที่ ซึ่งแต่ละคนนั้นย่อมมีความต้องการปัญหาสายตาและการใช้งาน ที่แตกต่างกันออกไป แต่ถ้าใครยังเลือกไม่ถูกว่าควรใช้เลนส์สายตาแบบไหนดี หอแว่นขอชวนคุณมาทำแบบทดสอบ 5 ข้อง่ายๆ รับรองว่าการเลือกเลนส์สายตาใหม่ของคุณจะง่ายขึ้นเยอะเลยล่ะ 

    1. ชอบอ่านหนังสือหรือทำงานเป็นเวลานาน
      คนที่มีพฤติกรรมแบบนี้ มักมีอาการตาล้า ปวดศีรษะ หรือปวดเบ้าตาเมื่ออ่านหนังสือหรือทำงานในระยะเวลานานๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการเพ่งตาบ่อยโดยไม่รู้ตัว ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนักจนเกินไป ดังนั้นเราขอแนะนำให้ใช้เลนส์ที่ช่วยการเพ่ง ช่วยให้มองระยะใกล้ได้สบายตามากยิ่งขึ้น

    2. มีปัญหาในการมองเห็นวัตถุระยะใกล้หรือระยะไกล
      คนที่มีพฤติกรรมแบบนี้ มักมีอาการตาล้า ปวดศีรษะ หรือปวดเบ้าตาเมื่ออ่านหนังสือหรือทำงานในระยะเวลานานๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการเพ่งตาบ่อยโดยไม่รู้ตัว ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนักจนเกินไป ดังนั้นเราขอแนะนำให้ใช้เลนส์ที่ช่วยการเพ่ง ช่วยให้มองระยะใกล้ได้สบายตามากยิ่งขึ้น

      ภาวะนี้เกิดจากภาวะสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง เป็นปัญหาสายตาที่พบเยอะมาก ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการใส่แว่นแบบเลนส์ชั้นเดียวที่สั่งตัดตามค่าสายตา แต่หากคุณกำลังมีปัญหาทั้งการมองระยะใกล้และไกลด้วย เราก็จะขอแนะนำให้ใช้เป็นแว่นที่มีเลนส์โปรเกรสซีฟ

    3. มีปัญหาในการอ่านหนังสือ ไม่สามารถมองเห็นตัวหนังสือได้ในระยะใกล้
      ปัญหานี้พบมากในบุคคลที่มีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ซึ่งจะเริ่มประสบกับปัญหาในการอ่านหนังสือ และใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในระยะใกล้ไม่ได้ เพราะตาไม่โฟกัส จึงต้องยืดแขนเพื่อมอง ดังนั้นเลือกใช้เลนส์แบบโปรเกรสซีฟเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดค่ะ

    4. ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มากกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน 
      ขอแนะนำเลนส์ป้องกันแสงสีฟ้า เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีที่จะช่วยลดอาการ Digital eye strain หรืออาการตาแห้ง ตาพร่ามัว หรือรู้สึกเครียดได้

    5. มีไลฟ์สไตล์ที่อยู่ทั้งในร่มและกลางแจ้งเป็นประจำ 
      เลนส์เปลี่ยนสีอัตโนมัติ หรือเลนส์โฟโตโครมิก เป็นเลนส์ที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคุณได้อย่างดี เพราะเลนส์นี้สามารถเปลี่ยนสีตามอุณหภูมิ และปริมาณรังสีUV ได้อย่างรวดเร็ว

      มาถึงตอนนี้ก็สามารถตัดสินใจได้แล้วใช่ไหมคะว่าไลฟ์สไตล์แบบคุณ แว่นและเลนส์แบบไหนที่ตอบโจทย์ได้มากที่สุด และอย่าลืมส่งต่อความรู้นี้ให้กับคนที่คุณรักด้วยนะคะ เพื่อสุขภาพตาที่ดีไปด้วยกัน

      กลับไปยังบล็อก