เลือกแว่นตาเด็กอย่างไร ให้ถูกใจและเหมาะกับเจ้าตัวน้อย

เลือกแว่นตาเด็กอย่างไร ให้ถูกใจและเหมาะกับเจ้าตัวน้อย

หากพูดถึงพัฒนาการด้านการมองเห็นที่สมบูรณ์ของคนเรานั้น จะเริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 9 ขวบ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นนัยน์ตาของลูก เช่น ลูกมองเห็นภาพด้วยตาสองข้างได้ชัดและเป็นสามมิติ

หรือรู้ความตื้นลึกได้เป็นปกติไหม เพราะการมองเห็นที่ดีส่งผลต่อประสิทธิภาพในเรื่องการเรียนรู้ พัฒนาการ รวมถึงการทำกิจกรรมต่างๆ ของเด็ก ดังนั้นหากสังเกตได้ว่า ลูกของเรามีความผิดปกติที่ขัดขวางพัฒนาการทางสายตา ควรพาไปตรวจสายตาตั้งแต่เนิ่นๆ ให้ทันท่วงที เพื่อพัฒนาการและการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ของลูกน้อย

หากพูดถึงพัฒนาการด้านการมองเห็นที่สมบูรณ์ของคนเรานั้น จะเริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 9 ขวบ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นนัยน์ตาของลูก เช่น ลูกมองเห็นภาพด้วยตาสองข้างได้ชัดและเป็นสามมิติ หรือรู้ความตื้นลึกได้เป็นปกติไหม เพราะการมองเห็นที่ดีส่งผลต่อประสิทธิภาพในเรื่องการเรียนรู้ พัฒนาการ รวมถึงการทำกิจกรรมต่างๆ ของเด็ก ดังนั้นหากสังเกตได้ว่า ลูกของเรามีความผิดปกติที่ขัดขวางพัฒนาการทางสายตา ควรพาไปตรวจสายตาตั้งแต่เนิ่นๆ ให้ทันท่วงที เพื่อพัฒนาการและการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ของลูกน้อย

ช่วงอายุที่ควรพาลูกน้อยมาตรวจโรคทางสายตา

  • เด็กคลอดก่อนกำหนด : เพื่อตรวจหาโรคจอประสาทตาเสื่อม
  • เด็กทารก : เพื่อตรวจหาโรคต้อกระจก โรคต้อหิน ซึ่งมักเกิดขึ้นจากพัฒนาการที่ผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์
  • เด็กก่อนวัยเรียน : เพื่อตรวจหโรคสายตาขี้เกียจ โรคตาเข และภาวะสายตาสั้นในเด็ก
  • เด็กวัยเรียนอายุมากกว่า 6 ปี : เพื่อตรวจหาภาวะสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้นหรือสายตายาวที่มักเกินขึ้นในวัยเรียน

    โรคตาเหล่านี้หากไม่ได้รับการรักษา หรือพ่อแม่ไม่ทราบถึงความผิดปกติดังกล่าว คิดว่าลูกมองเห็นได้ปกติดีและไม่ได้รับการแก้ไข อาจส่งต่อพัฒนาการการมองเห็นและพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยได้ สิ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตการถึงความผิดปกติได้ คือ ลูกมักขยี้ตาบ่อย ตาแดง มีสีขาวกลางตาดำ ตาไวต่อแสงหรือตาแพ้แสง ดวงตาทั้ง 2 ข้างไม่สามารถมองไปในทิศทางเดียวกันได้ มีปัญหาในการอ่านหนังสือ ต้องหรี่ตาเพื่อมองสิ่งต่างๆ รวมถึงพฤติกรรมชอบนั่งดูโทรทัศน์ใกล้ๆ ด้วย

    นอกจากนี้ปัจจัยที่ส่งผลต่อความปกติของสายตาเด็ก ได้แก่ ร่างกายที่เติบโตขึ้น พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการสายตา เป็นต้น ซึ่งปัญหาสายตาและการมองเห็นที่พบได้บ่อยในเด็ก จำเป็นต้องได้รับการตรวจเช็คสุขภาพสายตาอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเช็คระบบประสาทตา และสายตาโดยรวม หากลูกของเรามีภาวะสายตาสั้น ยาว หรือเอียง

    ก็สามารถแก้ไขได้อย่างตรงจุด วันนี้เราจะพามาดูเคล็ดลับในการเลือกแว่นตา ให้ลูกน้อยของเราเต็มที่กับกิจกรรมและใช้ชีวิตได้อย่างคล่องตัว เพื่อพัฒนาการที่ดีที่สุดกัน !


    เคล็ดลับเลือกแว่นให้ลูกน้อย

    • ควรเปิดโอกาสให้เลือกด้วยตัวเอง เพื่อให้เด็กรู้สึกว่ามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเลือกทรง ลวดลาย หรือสีของกรอบแว่นด้วยเพื่อให้ลูกรู้สึกอยากใส่แว่น
    • เลือกวัสดุกรอบแว่นที่มีความยืดหยุ่น ทนทาน กรอบแว่นที่เด็กๆใช้ ควรเป็นกรอบแว่นที่มีความยืดหยุ่น ทนทาน น้ำหนักเบา และบิดงอได้ อย่างเช่น กรอบแว่นที่ทำจากวัสดุ Ultem หรือกรอบแว่นยาง และควรเลือกแป้นรองจมูกที่กระชับรับกับหน้าของเด็ก ไม่บีบดั้งจนเกินไป หรือกว้างเกินไปจนทำให้แว่นหลุดลงไปอยู่ที่จมูกได้ 
    • เลือกเลนส์แว่นที่ปลอดภัยต่อดวงตาของลูก ซึ่งอาจเลือกเป็นเลนส์ Trivex ซึ่งเป็นเลนส์ที่เหนียว และเป็นเลนส์นิรภัย ทนทานต่อแรงกระแทก หรือในกรณีที่เลนส์ชนิดนี้แตกก็ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตาได้ เพราะทำจากวัสดุที่มีความหนาแน่นสูง อีกทั้งยังให้ภาพที่ชัดใส น้ำหนักเบา ช่วยให้ผู้ปกครองสบายใจ และลดอุบัติเหตุทางตาของลูกน้อยได้

      ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกน้อยไปตรวจสายตา และเลือกซื้อแว่นเด็กที่มีกรอบแว่น รวมถึงเลนส์ที่เหมาะสมกับกิจกรรมที่ลูกน้อยชอบได้ที่หอแว่นทุกสาขา ทั่วประเทศ มาทำให้เจ้าตัวเล็กมีสายตาและพัฒนาการที่ดีพร้อมๆ กับชื่นชอบการใส่แว่นกันเถอะ
      กลับไปยังบล็อก